...........งานออกแบบสามมิติ
......งานสามมิติ หมายถึง การจัดปริมาตรที่เป็นจริงในที่ว่างด้วยองค์ประกอบ พลาสติก
คือ รูปทรง เส้น ระนาบ ที่ว่าง สี และผิวสัมผัส ฯลฯ ให้มีความเคลื่อนไหว และจัดให้องค์ประกอบ
เหล่านี้มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
.....มิติมีความหมายว่า การวัดขนาดต่างๆ เช่น ความกว้าง ความยาว หรือความสูง
ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า dimension
การวัดเฉพาะความยาวเรียกว่า first dimension
การวัดเฉพาะความกว้างเรียกว่า second dimension
การวัดเฉพาะความสูงหรือความหนาเรียกว่า third dimension
แต่การวัดทั้งความยาว ความกว้าง และความสูงหรือหนารวมเรียกว่า three dimensionหรือ 3 มิติ
.....ความหมายโดยทั่วไปของคำว่า 3 มิติ จึงสามารถครอบคลุมไปถึงวัตถุ
สิ่งของต่างๆ ที่มีความยาว ความกว้าง และความสูงหรือความหนาด้วย เช่น คน สัตว์ สิ่งของอาคารบ้านเรือน ฯลฯ
.....ในทางศิลปะ คำว่า 3 มิติ ตรงกับคำว่า ภาพลอยตัว (round relief) ซึ่งหมายถึงภาพที่สามารถมองเห็นได้ทุกๆ ด้าน สามารถกินเนื้อที่ในอากาศและน้ำ ซึ่งก็คืองานประติมากรรม
นั่นเองที่ว่าง 3 มิติ เกิดจากรูปทรงธรรมชาติที่เรารู้จักดีว่ามี 3 มิติ รูปทรงเหล่านี้ ได้แก่คน สัตว์ สิ่งของ ทิวทัศน์ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้แม้จะเขียนขึ้นด้วยเส้นรูปนอกเพียงอย่างเดียวโดยไม่ต้องแสดงปริมาตรด้วยน้ำหนักหรือสีผู้ดูก็จะรู้สึกได้เองว่าเป็นรูปทรงที่มีปริมาตร เพราะ
ความเคยชินที่ได้เห็นอยู่เป็นประจำดังนั้นจึงพอสรุปได้ว่า
......งานออกแบบสามมิติ หมายถึง การจัดองค์ประกอบทางศิลปะให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยมีมิติของการมองได้ทั้งความกว้าง ความยาวและความสูง หรือความหนา งานสามมิติกินบริเวณพื้นที่ว่างสามมิติ งานสามมิติมีทั้งเคลื่อนไหวได้และเคลื่อนไหวไม่ได้
...การออกแบบงานสามมิติถ้าผู้ศึกษาได้ศึกษาและฝึกปฏิบัติในหลักการออกแบบศิลปกรรมตั้งแต่ในบทที่ 1จนถึงบทที่ 13 ซึ่งกล่าวถึงทัศนธาตุและหลักการออกแบบทั้งหลายตามลำดับก็สามารถนำมา
ประยุกต์ใช้ได้กับงานออกแบบสามมิติ องค์ประกอบพื้นฐานที่จะนำมาใช้ในงานออกแบบ
....สามมิติคือรูปทรง เส้น ระนาบ ที่ว่าง สี พื้นผิว จังหวะ เอกภาพ ดุลยภาพ เพราะสิ่งเหล่านี้มีผลโดยตรงต่อดุลยภาพที่เป็นจริงและดุลยภาพที่วัดได้ด้วยสายตาการสร้างงานศิลปะสามมิติมีความซับซ้อนมากกว่าการออกแบบสองมิติตรงที่งานสองมิตินำเสนอภายในกรอบภาพเท่านั้น แต่งานสามมิตินำเสนอรูปทรงและพื้นที่ว่างสามมิติ
ที่สัมพันธ์กัน เพื่อให้ผู้ชมสามารถชมความงามได้รอบทิศ ซึ่งผู้สร้างงานจะต้องเข้าใจมุมมองและระยะของการมองด้วย ในที่นี้จึงขอกล่าวถึงงานออกแบบสามมิติเฉพาะเพียงบางส่วนที่ได้มีการพัฒนาขึ้นมาจากการออกแบบสองมิติและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานสิ่งพิมพ์ได้การออกแบบจึงเริ่มต้นตั้งแต่วัตถุประสงค์ของการสร้างงานว่า จะนำงานออกแบบสามมิติชนิดนั้นไปใช้ทำอะไร มีแนวเรื่อง และแนวคิดอย่างไร ต้องการให้คงสภาพเหมือนจริงตามธรรมชาติ เพิ่มรูป ลดรูป เป็นรูปทรงธรรมชาติ รูปเรขาคณิต หรือรูปทรงอิสระ วัสดุและกรรมวิธีในการทำงานเหล่านี้ เป็นต้น
.........การออกแบบงานสามมิติที่พัฒนาขึ้นมาจากการออกแบบสองมิติเหล่านี้ได้แก่
...1. งานประติมากรรมกระดาษ (paper sculpture)
...2. งานภาพยก (paper pop-ups)
...3. งานประติมากรรมดิน (clay sculpture)
...4. งานศิลปะสื่อผสม (mixed media)
...5. งานศิลปะจากวัสดุเหลือใช้ (recycle sculpture)
...6. งานประติมากรรมจากวัสดุพิเศษ (specialty sculpture)
..1. งานประติมากรรมกระดาษ
....ปัจจุบันวงการโฆษณาและงานพิมพ์นำประติมากรรมกระดาษมากระตุ้น
ความสนใจแก่ผู้บริโภค ประติมากรรมกระดาษทำให้งานดูมีมิติ มีแสงเงาด้วยการพับ โค้ง ม้วนผลงานที่ออกมาจะเป็นเรื่องราวที่นำเสนอภาพในชีวิตประจำวัน หรือเหนือจริงที่อาจเหมือนจริง
หรือดูเป็นนามธรรม บางครั้งมีการเติมเต็มด้วยการวาดภาพระบายสีลงไป เพิ่มเติมภาพประกอบซึ่งสร้างความพึงพอใจให้แก่วงการออกแบบนิเทศศิลป์เป็นอย่างมาก แม้ว่าประติมากรรมกระดาษมีมานานแล้ว แต่ยังคงไว้ซึ่งเสน่ห์ของรูปแบบและพื้นผิวของกระดาษ ซึ่งล้วนทำให้ผู้ชมเกิดจินตนาการได้ทั้งสิ้น
..2. งานภาพยก
....งานภาพยกมีหลากหลายรูปแบบ หลากหลายกรรมวิธี อาทิ การเจาะกรุ เจาะพับให้เกิดการยกระดับ และการออกแบบโดยใช้ความหลากหลายของรูปร่าง เพื่อให้เกิดภาพยกที่น่าสนใจ เทคนิคนี้ถูกนำไปใช้ในงานออกแบบนิเทศศิลป์อย่างกว้างเพราะดึงดูดความสนใจได้ดี
..3. งานประติมากรรมดิน
....ดินเหนียว ดินสำเร็จรูป หรือแป้งสามารถนำมาสร้างงานประติมากรรม
เพื่อนำเสนอแนวคิดและการสร้างสรรค์ได้อย่างอิสระไร้ขีดจำกัดด้วยสีที่เป็นเนื้อแท้ของดิน
หรือสีที่ผสมเข้าไปในเนื้อดิน รูปทรงที่ทำได้ตามจินตนาการเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะดึงดูด
ความสนใจของผู้ชมได้
ขึ้นไป เป็นการใช้สายตาดึงไปสู่จุดสนใจ
..4. งานศิลปะสื่อผสม
....ผู้สร้างงานสื่อผสมต้องเป็นผู้มีประสบการณ์ในการสร้างสรรค์ มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของวัสดุ สามารถนำสิ่งที่แตกต่างมาทำให้เกิดความกลมกลืนผสมผสานให้เกิดดุลยภาพ งานสื่อผสมที่ดีจะดึงดูดความสนใจจากผู้ชมได้มากขึ้น ถ้าสื่อนั้นแสดงการผสมผสานได้ทั้งในความนึกคิดและที่ปรากฏจริงต่อสายตาผู้ชม
...5. งานศิลปะจากวัสดุเหลือใช้
......การนำวัสดุเหลือใช้มาสร้างสรรค์ความงามทางศิลปะเป็นเรื่องทำได้ยากวัสดุใหม่ๆดูเหมือนจะทำได้ง่ายกว่า แต่ในปัจจุบันนักออกแบบได้นำวัสดุเหลือใช้มาสร้างงานสามมิติได้อย่างสวยงามและเป็นการช่วยสงวนทรัพยากร สิ่งที่นำเสนอเป็นแนวคิดใหม่ที่สดใส ความแปลกใหม่จากวัสดุที่เราคุ้นเคยกับประโยชน์ใช้สอยหรือรูปลักษณ์เดิมทำให้มีความน่าสนใจเกิดขึ้น
..6. งานประติมากรรมจากวัสดุพิเศษ
งานศิลปะประเภทนี้สร้างโดยผู้มีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการที่ไร้ขอบเขตวัสดุนานาชนิดถูกนำมาใช้ในการออกแบบ อาทิ พลาสติก โลหะ ไม้ อาหาร และอื่นๆ อีกมากมายอาจเป็นวัสดุที่หาได้ง่ายโดยทั่วไป หรือเป็นวัสดุที่หาได้ยาก ทุกสิ่งล้วนนำมาสร้างเพื่อให้เกิด
สุนทรียภาพได้ทั้งสิ้น
.....สรุปงานออกแบบสามมิติ หมายถึง การจัดองค์ประกอบทางศิลปะให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยมีมิติของการมองได้ทั้งความกว้าง ความยาว และความสูงหรือความหนางานสามมิติกินบริเวณพื้นที่ว่างสามมิติ งานสามมิติมีทั้งเคลื่อนไหวได้และเคลื่อนไหวไม่ได้
การออกแบบงานสามมิติมีด้วยกันหลายวิธี แต่ได้เลือกมาเฉพาะงานสามมิติที่พัฒนาขึ้นมาจากงาน 2 มิติ ประยุกต์ใช้และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานสิ่งพิมพ์ได้อีกด้วยการออกแบบสามมิติมีลักษณะเช่นเดียวกับการออกแบบงานสองมิติแต่ซับซ้อนกว่า
เพราะต้องออกแบบให้เหมาะสมกับมุมมองและระยะของสายตาที่ชมงาน หลักเบื้องต้น คือต้องเลือกวิธีให้เหมาะสมกับงานโดยเริ่มตั้งแต่วัตถุประสงค์ แนวเรื่อง แนวคิด วัสดุ และวิธีการ
....งานออกกแบบสามมิติมีมากมายหลายชนิด แต่ที่เลือกมาเสนอในบทนี้มี 6 ชนิด คือ
...1. งานประติมากรรมกระดาษ ซึ่งทำให้เกิดมิติ แสงเงา ด้วยการพับ โค้ง ม้วน
...2. งานภาพยก ทำให้เกิดมิติได้โดยการเจาะกรุ เจาะ พับ ให้เกิดการยกระดับ
...3. งานประติมากรรมดิน สามารถทำให้เป็นรูปทรงได้โดยอิสระ
...4. งานศิลปะสื่อผสม เป็นการนำสิ่งที่แตกต่างมาสร้างความประสานกลมกลืน
...5. งานศิลปะจากวัสดุเหลือใช้ เป็นการทำวัสดุเหลือใช้มาสร้างให้ดูแปลกใหม่
กว่าที่เคยเห็น ในประโยชน์ใช้สอยหรือรูปลักษณ์เดิม
...6. งานประติมากรรมจากวัสดุพิเศษ ศิลปะประเภทนี้ทำให้เกิดการสร้างสรรค์
และจินตนาการได้อย่างอิสระไร้ขอบเขต เพราะใช้วัสดุได้ทุกชนิดให้เหมาะสมตรงตาม
วัตถุประสงค์ของงาน
วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)